บัญชีมาร์จิ้น หรือ บัญชีเครดิตบาลานซ์ คือ?

  • บัญชีที่ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ต
  • เงินที่บริษัทให้ลูกค้ากู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ เรียกว่า เงินกู้มาร์จิ้น (Margin loan)
  • ลูกค้าต้องวางหลักประกันขั้นต้น (initial margin requirement :IM) จะเป็น เงินสด หรือ หุ้นก็ได้ จึง จะมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้นได้(ใช้เงินกู้ได้) ลูกค้าต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์ตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด มาวางไว้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ ก่อนที่จะให้ลูกค้าเริ่มซื้อหลักทรัพย์หรือขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้นครั้งแรก
  • หุ้นที่ซื้อในบัญชีมาร์จิ้นจะใช้เป็นหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้น, และ เงินจากการขายหุ้นจะนำมาชำระยอดเงินกู้ก่อนโดยอัตโนมัติ
  • ลูกค้าต้องดำรงมูลค่าหลักประกัน(Equity) ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดฯ มิเช่นนั้นจะถูกเรียกให้วาง หลักประกันเพิ่ม(Margin call) หรือ บังคับขายหุ้น(force sell)
อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น (IM) ของหุ้นคืออะไร

อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น (Initial Margin หรือ IM) คือ อัตราหลักประกันขั้นต้นที่ลูกค้าต้องวางในบัญชีมาร์จิ้นก่อนทำการซื้อหลักทรัพย์ โดยอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นของหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชีมาร์จิ้น ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ตามความเสี่ยงของแต่ละหลักทรัพย์

• กลุ่ม I กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นที่ 50% (IM = 50%)
• กลุ่ม II กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นที่ 70% (IM = 70%)
• กลุ่ม III กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นที่ 85% (IM = 85%)

ดังนั้น จะเห็นว่า อำนาจซื้อ (Purchasing Power) จะแปรผันตามอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นของหลักทรัพย์ที่ลูกค้าจะซื้อ ทั้งนี้

• กรณีลูกค้าต้องการซื้อหุ้นกลุ่ม I จะสามารถซื้อได้ 2 เท่าของทรัพย์สินส่วนเกิน (Excess Equity)
• หากลูกค้าต้องการซื้อกหุ้นกลุ่ม II จะสามารถซื้อได้ประมาณ 1.428 เท่าของทรัพย์สินส่วนเกิน (Excess Equity)
• หากลูกค้าต้องการซื้อหุ้นกลุ่ม III จะสามารถซื้อได้ราว 1.176 เท่าของทรัพย์สินส่วนเกิน (Excess Equity)

หมายเหตุ ลูกค้าต้องวางเงินสดกับบริษัทฯเต็มจำนวน หากต้องการซื้อหลักทรัพย์นอกเหนือจากที่บริษัทฯกำหนด
ดู IM% ของหุ้น ได้จากที่ใด

ท่านสามารถตรวจสอบจากอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น (IM) ได้จาก
  • ท่านสามารถตรวจสอบจากอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น (IM) ได้จาก ประกาศรายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสำหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชีมาร์จิ้น (หรือ Marginable Securities List) คลิกที่นี่เพื่อดูประกาศ หรือ ตรวจสอบที่โปรแกรมส่งคำสั่งซื้อขาย efin Trade Plus
ทำไมจึงควรใช้ บัญชีมาร์จิ้น หรือ บัญชีเครดิตบาลานซ์ ซื้อหุ้น
หากลูกค้ามีเงินลงทุนมูลค่า 1,000,000 บาท และคิดว่าหุ้น ZZZ ซึ่งมีอัตรามาร์จิ้น 50% กำลังจะเป็นขาขึ้น ลูกค้าสามารถเพิ่มอำนาจซื้อเป็น 2 เท่า โดยใช้เงินกู้จากบริษัทอีก 1,000,000 บาท ทำให้อำนาจซื้อเพิ่มเป็น 2,000,000 จะเห็นว่า หากหุ้น ZZZ ราคาเพิ่มขึ้น 10% ตามที่คิดไว้ จะได้กำไรเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 2 เท่า

ด้วยพลังการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น นักลงทุนที่ใช้มาร์จิ้นจึงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น

กลไกที่ช่วยต่อยอดกำไรให้พอกพูน

ใส่ภาพจาก slide3

เมื่อมีกำไรจากพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะมีอำนาจซื้อเพื่อนำไปซื้อหุ้นเพิ่มได้ เพื่อโอกาสได้กำไรเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีก ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยขจัดข้อจำกัดของบัญชีเงินสดที่ต้องมีเงินจึงจะลงทุนเพิ่มได้

Margin Call หรือ การเรียกวางหลักประกันเพิ่ม

ดำรงมูลค่าหลักประกันให้เป็นไปตามเกณฑ์

- Equity > Call Level (minimum equity)

- Equity = มูลค่าหุ้นตามราคาตลาด – Margin Loan

- Call Level (CL) = 35% ของมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด

- Force Sell Level (FSL) = 25% ของมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด

- Margin Call เมื่อ Equity < Call Level โดยต้องเติมหลักประกันให้กลับไปเกินกว่า Call Level

- Force Sell เมื่อ Equity < Force Sell Level โดยต้องเติมหลักประกันให้กลับไปเกินกว่า Force Sell Level

ประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้จากการใช้ บัญชีมาร์จิ้น

- เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น
เนื่องจากมีเงินลงทุนมากขึ้นจึงมีโอกาสได้ทั้ง Capital gain และเงินปันผลที่มากขึ้น

- ไม่พลาดโอกาสทำกำไรแม้หุ้นอยู่ในขาลง ในกรณีที่ลูกค้าเปิดใช้บริการ SBL

- วงเงินกู้สะดวกพร้อมใช้ได้ทุกเมื่อเมื่อได้รับอนุมัติวงเงินกู้แล้ว นักลงทุนสามารถใช้วงเงินได้ทันทีที่ต้องการ หรือหากยังไม่ต้องการใช้วงเงิน บริษัทก็จะไม่ดำเนินการระงับวงเงินแต่อย่างใด

- ไม่ต้องทยอยจ่ายค่างวดเพื่อชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
เมื่อใช้เงินกู้มาร์จิ้น ลูกค้าไม่จำเป็นต้องทยอยจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นค่างวดเหมือนเงินกู้ประเภทอื่น โดยบริษัทฯจะเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีการกระทบยอดดอกเบี้ยเข้าไปเพิ่มเป็นยอดเงินกู้ในบัญชีของลูกค้าทุกๆสิ้นเดือนโดยอัตโนมัติ ลูกค้าเพียงคอยดูแลมูลค่าหลักประกันให้เพียงพอตามเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น การใช้เงินกู้มาร์จิ้นจึงช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และลดภาระการติดต่อด้านการชำระเงินกู้ให้แก่นักลงทุน

- ดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่บริษัทเรียกเก็บต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม ดังนั้น การใช้เงินกู้มาร์จิ้นของบริษัท จึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดีเมื่อเปรียบเทียบกับการกู้เงินกับที่อื่น นอกจากนี้ บริษัทฯยังให้ดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับเงินที่ลูกค้าฝากเข้ามาในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อรอซื้อหุ้นในอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ด้วย

- ขจัดความกังวลเรื่องวันครบกำหนดชำระราคาค่าซื้อหุ้น
เพราะบริษัทจะชำระราคาค่าซื้อส่วนที่เกินกว่าเงินของลูกค้าโดยการให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโดยอัตโนมัติ

การซื้อหุ้นใน Credit Balance (หรือ บัญชีมาร์จิ้น) ต่างจากซื้อหุ้นบัญชีอื่นๆอย่างไร

ตัวอย่าง ลูกค้าฝากเงินเข้ามาในบัญชี Credit Balance และ บัญชี Cash Balance โดยฝากเงินจำนวน 100,000 บาท เท่ากันทั้ง 2 บัญชี และต้องการซื้อหุ้น A ซึ่งมีอัตรามาร์จิ้น 50%

ประเภทบัญชี จำนวนเงิน
ที่ลูกค้าฝาก
อัตรามาร์จิ้น ราคาตลาดของหุ้น อำนาจซื้อ (PP) เงินส่วนของ
ลูกค้า (EE)
เงินกู้ (Loan) จำนวนหุ้น
ที่สามารถซื้อได้
Credit Balance 100,000 50% 220 100,000/50%
=200,000
100,000 100,000 900 หุ้น
Cash Balance 100,000 - 220 100,000 100,000 - 450 หุ้น
               

สรุป หากลูกค้าซื้อหุ้น A ซึ่งมีอัตรามาร์จิ้น 50% มูลค่า 200,000 ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 50 % ที่เหลืออีก 50% กู้เงินจากบริษัท จะเห็นว่าด้วยจำนวนเงินฝากที่เท่ากันแต่เมื่อซื้อหุ้นในบัญชี Credit Balance สามารถซื้อหุ้นได้มากกว่ามูลค่าเงินที่ฝากเข้ามา

ดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องของบัญบัญชี Credit Balance

ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยจาก เงินสด (Cash Balance) ส่วนที่เกินกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ที่ขายชอร์ต แต่ จะต้องจ่ายดอกเบี้ยจากภาระหนี้ Margin Loan โดยลูกค้าจะได้รับหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นรายเดือน (หมายเหตุ จำนวนเงินที่จ่ายให้หรือเรียกเก็บจริง จะหักกลบกันระหว่างดอกเบี้ยรับกับดอกเบี้ยจ่าย)


บริษัทฯจะบันทึกดอกเบี้ยประจำเดือน ที่มียอดดอกเบี้ยสุทธิเป็น “ดอกเบี้ยรับ” เข้าบัญชี Credit Balance ของลูกค้า ดังนี้:

- ถ้าสถานะล่าสุดของบัญชีเป็น Cash Balance (คือ มีเงินสดคงเหลืออยู่ในบัญชี) และมียอดดอกเบี้ยสุทธิประจำเดือนเป็น “ดอกเบี้ยรับ” จะส่งผลให้ Cash Balance (ยอดเงินสด) ของลูกค้า เพิ่มขึ้น ในวันทำการแรกของเดือนถัดไป

- ถ้าสถานะล่าสุดของบัญชีเป็น Margin Loan (คือ มีภาระหนี้) และมียอดดอกเบี้ยสุทธิประจำเดือนเป็น “ดอกเบี้ยรับ” จะส่งผลให้ลูกค้ามีภาระหนี้ ลดลง ในวันทำการแรกของเดือนถัดไป


บริษัทฯจะบันทึกดอกเบี้ยประจำเดือน ที่มียอดดอกเบี้ยสุทธิเป็น “ดอกเบี้ยจ่าย” เข้าบัญชี Credit Balance ของลูกค้า ดังนี้:

- ถ้าสถานะภาพล่าสุดของบัญชีเป็น Margin Loan (คือมีภาระหนี้) และยอดดอกเบี้ยสุทธิประจำเดือนเป็น “ดอกเบี้ยจ่าย” จะส่งผลให้ลูกค้ามีภาระหนี้ เพิ่มขึ้น ในวันทำการแรกของเดือนถัดไป

- ถ้าสถานะภาพล่าสุดของบัญชีเป็น Cash Balance (คือ มีเงินสดคงเหลืออยู่ในบัญชี) และยอดดอกเบี้ยสุทธิประจำเดือนเป็น “ดอกเบี้ยจ่าย” จะส่งผลให้ Cash balance (ยอดเงินสด) ของลูกค้า ลดลง ในวันทำการแรกของเดือนถัดไป


การกำหนดอัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยของ Cash Balance และ Margin Loan จะประกาศให้ทราบเป็นรายเดือนในวันทำการแรกของเดือน โดยอัตราดอกเบี้ยของ Cash Balanceจะมีผลในวันแรกของเดือนก่อนเดือนที่ประกาศส่วนของ Margin Loan จะมีผลในวันแรกของเดือนที่ประกาศ


ยกตัวอย่างเช่น บริษัทฯ ประกาศอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 1 เมษายน 2563 โดยให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Cash Balance) เท่ากับ 2% ต่อปี และ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ฯ (Margin Loan) เท่ากับ 6% ต่อปี หมายความว่า ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยจาก Cash Balance ตั้งแต่ 1 – 31 มีนาคม 2563 ในอัตรา 2% ต่อปี และ เสียดอกเบี้ยจาก Margin Loan ตั้งแต่ 1 – 30 เมษายน 2563 ในอัตรา 6% ต่อปี


เกร็ดความรู้

ในกรณีที่ลูกค้าซื้อหลักทรัพย์ จะหักยอดเงินเพื่อชำระค่าซื้อ จากเงินสดคงเหลือของลูกค้าที่อยู่ในบัญชีมาร์จิ้นก่อน ไปจนกว่าจะหมด (Cash Balance) หากไม่พอชำระค่าซื้อ ส่วนที่เกินมาจากเงินสดคงเหลือ (Cash Balance) จึงจะเป็นเงินกู้ Margin Loan


ในกรณีที่ลูกค้า ขายหลักทรัพย์หรือขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืม เงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ฯ จะแสดงไว้ในรายการเงินสด (Cash Balance) หรือ นำไปลดภาระหนี้ Margin Loan แต่มูลค่าขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมจะถูกหักออกจากรายการเงินสด (Cash Balance) เพื่อใช้ในสำหรับคำนวนดอกเบี้ย


บัญชีมาร์จิ้น หรือ บัญชีเครดิตบาลานซ์ เหมาะกับนักลงทุนประเภทใดบ้าง

Day trader/ Active trader:
สามารถเปิดวงเงินมาร์จิ้น และ SBL โดยเลือกใช้มาร์จิ้นเมื่อคาดว่าหุ้นจะขึ้น เพื่อเพิ่มวงเงินเทรดต่อรอบได้สูงถึง 2 เท่า หรือ ทำการชอร์ตเซลล์เมื่อคาดว่าหุ้นจะลง เพื่อสร้างโอกาสทำกำไรขาลง จึงทำให้มีโอกาสได้ทำกำไรจากการเทรดต่อวันมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น นักลงทุนไม่จำเป็นต้องเสียดอกเบี้ย หากซื้อหุ้นด้วยเงินกู้และขายหุ้นออกภายในวันโดยไม่เหลือหนี้คงค้าง ณ สิ้นวัน

Value investor:
เปิดวงเงินมาร์จิ้น ไว้ใช้ซื้อหุ้นของกิจการที่ดี มีโอกาสเติบโตสูงได้ในจำนวนมากขึ้น หรือหากนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ต่ำ ก็อาจรอใช้มาร์จิ้นเพื่อเพิ่มอำนาจซื้อหุ้นในภาวะตลาด panic จึงทำให้ได้หุ้นของกิจการที่ชอบในราคาถูกในจำนวนมากขึ้น ทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้นจากทั้ง capital gain และ สิทธิที่จะได้รับเงินปันผลที่มากขึ้น

นักลงทุนที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการกู้:
ใช้มาร์จิ้นเพื่อเพิ่มอำนาจซื้อหุ้นที่มีการ tender offer ได้จำนวนมากขึ้น และรอตอบรับการขายหุ้นให้กับผู้ทำที่ tender offer เพื่อรับกำไรส่วนต่างระหว่างราคาที่ประกาศรับซื้อ- ราคาซื้อ ซึ่งเป็นการลงทุนที่แทบจะปราศจากความเสี่ยง ทั้งนี้หากซื้อด้วยเงินตัวเองเพียงส่วนเดียว กำไรที่ได้อาจไม่น่าสนใจเพียงพอ

ขั้นตอนการซื้อขาย?
  • เปิดบัญชี Margin (Credit balance) คลิกที่นี่
  • ตรวจสอบ IM (50% 70% 85%) ของหุ้นที่ต้องการลงทุน และวางหลักประกันตามสัดส่วนที่กำหนด
  • ส่งคำสั่งซื้อหุ้นตามมูลค่าที่ต้องการ โดยบริษัทฯจะจัดสรรเงินกู้ให้กับลูกค้าสำหรับค่าซื้อส่วนที่เกินกว่าเงินที่วางไว้โดยอัตโนมัติ
  • ดำรงมูลค่าหลักประกันให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

หมายเหต โปรดศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆเพิ่มเติม จาก หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของบัญชี Credit Balance Internet

ทำความรู้จัก Margin Loan
 


ติดตามอัพเดทข่าวสารการลงทุน
คลิกที่นี่





แหล่งความรู้อื่นๆ

Krungsri Securities : Investor Guide
www.krungsrisecurities.com

eFin Trade Plus
www.efinancethai.com/efintools/index.aspx

Settrade Streaming
https://www.settrade.com/th/services-and-tools

SET e-Learning
www.set.or.th/set/education/main.do

ดูประกาศอัตรามาร์จิ้น

สอบถามข้อมูล

บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
Krungsri Securities: 0 2638 5500, 0 2659 7777
E-mail: customer.care@krungsrisecurities.com
               itrade@krungsrisecurities.com
website: https://www.krungsrisecurities.com

KSS twitter KSS facebook KSS line KSS telegram KSS youtube