ETF คืออะไร
หากอ้างอิงจากนิยามของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ETF มีความหมายดังนี้
“ETF ทางเลือกลงทุนที่รวมเอาจุดเด่นของหุ้นและกองทุนดัชนีมาไว้ที่เดียวกัน”
“ETF ย่อมาจาก Exchange Traded Fund แปลตรงๆ ก็คือ กองทุนที่สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนีหรือราคาสินทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิง (Passive Fund) ซึ่งมีหลากหลายประเภท ทั้งดัชนีราคาหุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ หุ้นรายกลุ่มอุตสาหกรรม รวมไปถึงดัชนีตราสารหนี้ และทองคำ”
ที่มา : https://www.setinvestnow.com/th/etf
เพราะฉะนั้น ETF จะมีความยืดหยุ่นสูงในเรื่องความต้องการซื้อขายของนักลงทุนที่อยากจะทำรายการด้วยตนเอง ต้องการเห็นราคาซื้อขายแบบ Real Time มีค่าธรรมเนียมที่ไม่แพงเกินไป และมี Universe ในการเลือกลงทุนที่หลากหลาย เหมาะสมที่จะนำมาจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation หรือ หาโอกาสการลงทุนที่มีความเฉพาะตัวซึ่งจะค่อยๆ อธิบายในส่วนถัดไป
3 Step เริ่มต้นง่ายๆ ใน ETF กับ KSS
ขั้นตอนที่ 1 มองหาบริษัทหลักทรัพย์ที่น่าเชื่อถือและมองหา FA (Financial Advisor) ที่มีความเชี่ยวชาญ
หากเปรียบเทียบกับการเดินทางไปต่างประเทศ นอกจากความรู้เรื่องภาษา เรื่องการเดินทาง เรื่องวัฒนธรรมของท้องถิ่น ส่วนที่จำเป็นส่วนแรกคือการขอหนังสือเดินทางหรือ Passport เฉกเช่นเดียวกัน ความสนใจที่มีต่อ ETF เริ่มแรกคือมองหาบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อเปิดบัญชีสำหรับการซื้อขาย ETF ไม่ว่าจะเป็น ETF ในตลาดหุ้นไทย หรือ ETF ที่ซื้อขายในตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการมีที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่รู้รอบ และรู้ลึกใน Products การเงินที่ซับซ้อน หลากหลาย จะเป็นตัวช่วยนักลงทุนตลอดการเดินทางในเส้นทางที่ยาวนานในโลกการลงทุน ซึ่งเปรียบเหมือนมีไกด์นำทาง คอยช่วยเราอยู่ตลอดเวลา
สนใจเปิดบัญชีกับหลักทรัพย์กรุงศรี : คลิกที่นี่
ขั้นตอนที่ 2 มองหา Investment Idea ในจักรวาลของ ETF
ETF มีความหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นคำถามที่ตามมาก็คือ เราจะ “ซื้ออะไร” ก่อนคำถามว่าจะ “ซื้ออย่างไร” ซะอีก ซึ่งการศึกษาเพียงแค่ Asset Class และนำมาหาไอเดียการลงทุนใน ETF อาจไม่เพียงพออีกต่อไปแต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี หากนักลงทุนมีความรู้ด้านการลงทุนอย่างดีแล้ว การต่อยอดจากจุดนั้นจะทำได้ง่ายและสนุกในการค้นคว้าต่อไปในอนาคต
จากรูปประกอบด้านบนคือตัวอย่างเบื้องต้นของ Asset Class ที่มีแบ่งเป็นประเภทต่างๆ เช่น สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย สินทรัพย์ประเภทหนี้ สินทรัพย์ประเภททุน และสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ ซึ่งเชื่อหรือไม่ว่าสินทรัพย์แทบทุกชนิด มีเป็น ETF ให้เราสามารถซื้อขายเพื่อการลงทุน เพื่อเก็งกำไร และอันที่จริงยังมีมากกว่านั้นอีก เช่นอาจจะนำมาวางเป็นกลยุทธ์ส่วนหนึ่งของพอร์ต การลงทุนในบางอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ หรือหากต้องการเพิ่มอำนาจซื้ออย่างการใช้ Leveraged ETF เป็นต้น
จึงอยากจะขอให้ไอเดียแบบกว้างๆ สำหรับเลือก ETF ได้ตรงความต้องการ ตรงตามสถานการณ์ และตรงตามความชำนาญแต่ละบุคคลดังต่อไปนี้ครับ
ซึ่งนักลงทุนอาจจะเริ่มจากข้อ 1 ไปก่อน เมื่อเรามีประสบการณ์มากขึ้นก็ค่อยๆ ขยับลึกขึ้นเรื่อยๆ เช่น ลงทุนรายประเทศ หรือลงทุนตามธีมการลงทุนในสถานการณ์ที่น่าสนใจ หลังจากนั้นในข้อ 4-5 ก็จะค่อยๆ เห็นไอเดียโดยอัตโนมัติในลำดับถัดไป
ขั้นตอนที่ 3 มองหา ETF Universe เพื่อวิเคราะห์จังหวะในการเข้าลงทุน
ในเบื้องต้นผมอยากจะขอจัดกลุ่ม (Grouping) ETF เพื่อให้นักลงทุนเห็นภาพใหญ่ว่าเรามีโอกาสอะไรบ้าง หากสนใจท่องจักรวาล ETF โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้เราตอบคำว่าที่ว่าจะ “ซื้ออะไร” ส่วนจะ “ซื้ออย่างไร” ผมจะมาแชร์อีกครั้งในบทถัดไป
Universe ETF สามารถจัดกลุ่มได้ประมาณ 9 กลุ่มใหญ่ตามภาพประกอบด้านล่าง
จากรูปจะขอยกตัวอย่าง 3 กลุ่มเอามาขยายความเพื่อให้นักลงทุนเห็นภาพและได้ไอเดียการลงทุนมากขึ้น
1. Stock Index: ตลาดหุ้นขนาดใหญ่ทั่วโลก มักจะลิสต์เป็น ETF ให้เราสามารถซื้อขายกันได้ เช่น
- SPDR S&P 500 ETF Trust (SPY)
- Vanguard FTSE European ETF (VGK)
- iShares MSCI France Index Fund (EWQ)
- iShares MSCI Hong Kong Index Fund (EWH)
- iShares MSCI Japan Index Fund (EWJ)
- iShares MSCI India ETF (INDA)
2. US Sector: ในบางช่วงเวลาของตลาดหุ้นก็จะมีกลุ่มที่ Outperform คือขึ้นได้ดีกว่ากลุ่มอื่นหรือดีกว่าตลาดหุ้นโดยรวม และในบางสถานการณ์ก็จะมีกลุ่มที่ Underperform คือปรับตัวลงแบบไม่สนใจใคร ไม่สนใจภาพรวมตลาด เพราะว่าอาจจะมีปัจจัยกดดันเฉพาะตัวที่ทำให้มีแรงขายมากเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น
- SPDR Select Sector Fund – Financial (XLF)
- Invesco Food & Beverage ETF (PBJ)
- SPDR Select Sector Fund – Consumer Staples (XLP)
- SPDR Select Sector Fund – Utilities (XLU)
- SPDR Select Sector Fund – Health Care (XLV)
- Vanguard Real Estate (VNQ)
3. Strategy & Thematic: กลุ่มสุดท้ายที่หยิบมายกตัวอย่างมีหลากหลายและน่าสนใจมากๆ มีทั้งธีมการลงทุน มีทั้งสไตล์การลงทุนแนว Growth แนว Value มีทั้งกลยุทธ์แบบ Multi Asset ยกตัวอย่างเช่น
- iShares Global Clean Energy ETF (SNSR)
- VanEck Video Gaming and eSports ETF (ESPO)
- First Trust NASDAQ Cybersecurity ETF (CIBR)
- VanEck Semiconductor ETF (SMH)
- Invesco S&P 500 Pure Growth ETF (RPG)
- Invesco S&P 500 Pure Value ETF (RPV)
- NYLI Hedge Multi – Strategy Tracker ETF (QAI)
- iShares Core 60/40 Balanced Allocation ETF (AOR)
กล่าวโดยสรุปก็คือ ETF มีโอกาสในการลงทุนที่หลากหลาย สามารถนำมาเพิ่มผลตอบแทน สามารถนำมากระจายความเสี่ยง หากนักลงทุนสนใจและอยากจะเริ่มต้นกับ ETF ลองเริ่มต้นจาก 3 Step ในบทความ หลังจากนั้นค่อยต่อยอดไปตามลำดับ ซึ่งก็ต้องไม่ลืมที่จะหาความรู้อื่นๆ ประกอบด้วย เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
เอกราช ศรีศุภวิชากิจ
Senior Vice President
Private Wealth Department
Krungsri Securities Public Company Limited