- ตราสารหนี้ เป็นตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ/ผู้ลงทุน ซึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้
ประเภทของตราสารหนี้ (แบ่งตามประเภทของผู้ออกตราสาร)
1.
ตราสารหนี้ภาครัฐ คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และ รัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง (TB) พันธบัตรรัฐบาล (LB) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CB) และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (SOE) โดยนักลงทุนสามารถ ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐได้ 2 วิธี คือ 1.ลงทุนในตลาดแรก 2.ลงทุนในตลาดรอง
2.
หุ้นกู้ภาคเอกชน (Corporate Bond) คือ ตราสารหนี้ (Bond) ที่ออกโดยภาค "เอกชน" เพื่อระดมทุนที่ได้จากการออกหุ้นกู้ไปใช้ในกิจการต่างๆตามแผนของบริษัทผู้ออก โดยนักลงทุนสามารถ ลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนได้ 2 วิธี คือ 1.ลงทุนในตลาดแรก 2.ลงทุนในตลาดรอง
ประโยชน์จากการลงทุนในตราสารหนี้
คำเตือน การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน