บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
TH

คำถามที่พบบ่อย


ขั้นตอนการเปิดบัญชี เริ่มต้นใช้งาน การเข้าสู่ระบบ เริ่มต้นซื้อขาย การตั้งค่าต่างๆ สำหรับใช้งาน โปรแกรมซื้อขาย Mobile Trading Krungsri Securities iFUND Settrade Streaming Stock Expert eFin Trade Plus efin StockPickUp Krungsri Securities SBL Realtime การซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ วิธีปฏิบัติเมื่อโปรแกรมซื้อขายขัดข้อง การฝาก/ถอนเงิน วิธีการฝากเงิน วิธีการถอนเงิน Online Direct Debit Bill payment ผ่าน KMA Bill payment ผ่านธนาคารอื่นๆ เลขบัญชีชำระค่าหุ้นและค่าธรรมเนียม แจ้งฝากหลักประกัน วิธีการสมัคร ATS ขั้นตอนการแจ้งผลการสมัคร ATS การโอนเงินระหว่างบัญชี วิธีการโอนหุ้น ค่าธรรมเนียมต่างๆ อัตราดอกเบี้ย เครดิตบาลานซ์ การขายชอร์ต เกี่ยวกับเงินปันผล ข้อมูลการซื้อ/ขาย วิธีการคำนวณต่างๆ การทบทวนข้อมูล KYC และ Suitability Test

บัญชีมาร์จิ้น(เครดิตบาลานซ์)

ซื้อหุ้นในบัญชี Credit Balance ต่างจากซื้อหุ้นบัญชีอื่นๆอย่างไร

บัญชีเครดิตบาลานซ์ หรือ บัญชีมาร์จิน คือบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่ลูกค้าสามารถซื้อหลักทรัพย์โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้นน้อยกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้ โดยลูกค้าใช้เงินตนเองส่วนหนึ่งและบริษัทจะให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าอีกส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ลูกค้าต้องฝากหรือวางเงินขั้นต้นในบัญชีก่อนเริ่มทำการซื้อหุ้น และอัตราของเงินที่วางขึ้นอยู่กับอัตรามาร์จินเริ่มต้นของ หลักทรัพย์ที่มีความประสงค์จะลงทุนนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อผ่านบัญชีเครดิตบาลานซ์ 4 กลุ่ม ดังนี้

  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 50% ได้แก่ หุ้นขนาดใหญ่ สภาพคล่องสูง
  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 60%
  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 70%
  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 80%
  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 100% ได้แก่ หุ้นสภาพคล่องต่ำ
 

ทั้งนี้ ท่านสามารถตรวจสอบจากอัตรามาร์จินเริ่มต้นได้จาก ประกาศรายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จินเริ่มต้นสำหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชี Credit Balance (Marginable Securities List)

  • IM 50% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 50% ที่เหลืออีก 50 % กู้เงินจากบริษัท
  • IM 60% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 60% ที่เหลืออีก 40 % กู้เงินจากบริษัท
  • IM 70% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 70% ที่เหลืออีก 30 % กู้เงินจากบริษัท
  • IM 80% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 80% ที่เหลืออีก 20 % กู้เงินจากบริษัท
  • IM 100% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 100%
 

ตัวอย่าง ลูกค้าฝากเงินเข้ามาในบัญชี Credit Balance และ บัญชี Cash Balance โดยฝากเงินจำนวน 100,000 บาท เท่ากันทั้ง 2 บัญชี และต้องการซื้อหุ้น A ซึ่งมีอัตรามาร์จิน 50%

ประเภทบัญชี จำนวนเงินที่ลูกค้าฝาก อัตรามาร์จิน ราคาตลาด อำนาจซื้อ เงินส่วนของลูกค้า เงินกู้ จำนวนหุ้นที่สามารถซื้อได้
Credit Balance 100,000 50% 220 100,000/50%=200,000 100,000 100,000 900 หุ้น
Cash Balance 100,000 - 220 100,000 100,000 - 450 หุ้น

สรุป หากลูกค้าซื้อหุ้น A ซึ่งมีอัตรามาร์จิน 50% มูลค่า 200,000 ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 50 % ที่เหลืออีก 50% กู้เงินจากบริษัท จะเห็นว่าด้วยจำนวนเงินฝากที่เท่ากันแต่เมื่อซื้อหุ้นในบัญชี Credit Balance สามารถซื้อหุ้นได้มากกว่ามูลค่าเงินที่ฝากเข้ามา

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของบัญชีเครดิตบาลานซ์หรือมาร์จิ้น มีอะไรบ้าง


การซื้อขายผ่านบัญชี Credit Balance จะมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่แตกต่างจากบัญชีเงินสด ดังนั้นขอให้ท่านนักลงทุนทำการศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้เข้าใจก่อนเริ่มทำการซื้อขายด้วยสด เช่น

  • สูตรการคำนวณอำนาจซื้อในบัญชี Credit Balance
  • การซื้อ/ขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชี Credit Balance
  • การฝาก/ถอนเงินจากบัญชี Credit Balance
  • การนำหลักทรัพย์จดทะเบียนมาวางเป็นหลักประกันหรือฝากขายในบัญชี Credit Balance
  • ดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องของบัญชี Credit Balance








       อ่านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของบัญชีเครติดบาลานซ์ทั้งหมด คลิกที่นี่

โปรแกรมส่งคำสั่งซื้อขายที่ใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขายด้วยบัญชีมาร์จิ้น?

ท่านสามารถดาวน์โหลดและใช้งานโปรแกรม eFinTrade Plus/Streaming

ในการส่งคำสั่งซื้อขาย เพื่อใช้บริการบัญชี มาร์จิ้น


ดาวน์โหลดโปรแกรม และ คู่มือการใช้งาน คลิกที่นี่
Version eFin Traade Plus Streaming
PC
Mobile Application

หมายเหตุ
ุ การ Login ผ่าน Mobile Application ต่างๆ จะต้องเลือก Broker เป็น KRUNGSRI

ส่งคำสั่งซื้อขายได้ช่วงเวลาใด


เหมือนการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นปกติ เฉพาะคำสั่ง short หุ้นที่ส่งคำสั่งได้เฉพาะเวลาตลาดเปิดทำการเท่านั้น (Open I และ II)

การส่งคำสั่งซื้อขายในบัญชีเครดิตบาลานซ์ต้องดูอะไรบ้าง

  • ตรวจสอบ IM (50% 60% 70% 80% 100%) ของหุ้นที่ต้องการลงทุน และวางหลักประกันตามสัดส่วนที่กำหนด (2)
  • ส่งคำสั่งซื้อหุ้นตามมูลค่าที่ต้องการ โดยบริษัทฯจะจัดสรรเงินกู้ให้กับลูกค้าสำหรับค่าซื้อส่วนที่เกินกว่าเงินที่วางไว้โดยอัตโนมัติ (3)

จะดูสถานะ Call / Force Margin ได้จากที่ใด


ท่านสามารถตรวจสอบสถานะ Call / Force ของบัญชีมาร์จิ้น ได้จากโปรแกรม eFin Trade Plus หน้าจอ Portfolio บริเวณ Call & Force (3)ตามภาพด้านล่างนี้