คำถามที่พบบ่อย


ขั้นตอนการเปิดบัญชี เริ่มต้นใช้งาน การเข้าสู่ระบบ เริ่มต้นซื้อขาย การตั้งค่าต่างๆ สำหรับใช้งาน โปรแกรมซื้อขาย Mobile Trading Krungsri Securities iFUND Settrade Streaming Stock Expert eFin Trade Plus efin StockPickUp Krungsri Securities SBL Realtime การซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ วิธีปฏิบัติเมื่อโปรแกรมซื้อขายขัดข้อง การฝาก/ถอนเงิน วิธีการฝากเงิน วิธีการถอนเงิน Online Direct Debit Bill payment ผ่าน App Krungsri Bill payment ผ่านธนาคารอื่นๆ เลขบัญชีชำระค่าหุ้นและค่าธรรมเนียม แจ้งฝากหลักประกัน วิธีการสมัคร ATS ขั้นตอนการแจ้งผลการสมัคร ATS การโอนเงินระหว่างบัญชี วิธีการโอนหุ้น ค่าธรรมเนียมต่างๆ อัตราดอกเบี้ย เครดิตบาลานซ์ การขายชอร์ต เกี่ยวกับเงินปันผล ข้อมูลการซื้อ/ขาย วิธีการคำนวณต่างๆ การทบทวนข้อมูล KYC และ Suitability Test

Krungsri Securities iFUND

แจ้งใช้สิทธิ์ ลดหย่อนภาษี SSF/RMF/ESG


   เนื่องจากกรมสรรพากรออกเกณฑ์ใหม่ ลูกค้าที่มีการลงทุนในกองทุน SSF/RMF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ต้องแจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังกรมสรรพากร โดยหากท่านไม่ได้ดำเนินการจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนดังกล่าวได้

   กรอบระยะเวลาในการแจ้งสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง วันที่ 30 ธ.ค. 2565 หากเกินเวลาที่กำหนด อาจได้รับเงินคืนภาษีจากกรมสรรพากรล่าช้า

SSF RMF

คำถามที่พบบ่อย

1. ทำไม บลจ. ไม่จัดส่งข้อมูลให้สรรพากรโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องให้ผู้ลงทุนมาแจ้งด้วยตนเอง?
   - ตามประกาศของกรมสรรพากร ต้องได้รับการแจ้งความประสงค์จากผู้ลงทุนก่อน จึงจะสามารถนาส่งข้อมูล การลงทุนให้กับกรมสรรพากรได้

2. หากไม่แจ้งความประสงค์ หรือไม่ประสงค์ให้นำส่งข้อมูลจะเกิดผลอย่างไร?
   - ผู้ลงทุนไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากการลงทุนในกองทุน SSF/RMF ได้ตามข้อกำหนดของ กรมสรรพากรเนื่องจากบลจ.จะไม่จัดส่งข้อมูลการลงทุนดังกล่าวของผู้ลงทุนให้กับกรมสรรพากร

3. หากไม่แจ้งความประสงค์ เมื่อยื่นภาษียังสามารถใช้หลักฐานการลงทุนในรูปแบบกระดาษหรือไม่?
   - ไม่ได้ กรมสรรพากรจะรับข้อมูลการลงทุนโดยตรงจากทาง บลจ. เพียงช่องทางเดียว โดยไม่รับหลักฐานใน รูปแบบ กระดาษ, ไฟล์ PDF หรืออื่นใดที่มาจากผู้ลงทุน

4. การแจ้งความประสงค์ต้องทำภายในเมื่อไหร่?
   - การแจ้งความประสงค์จะต้องดำเนินการภายในปีภาษีเพื่อให้ บลจ. จัดส่งข้อมูลการลงทุนของผู้ลงทุนตั้งแต่ปีที่ ได้ให้ความประสงค์นั้นแก่กรมสรรพากร ตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุนลงทุนในกองทุน SSF/RMF วันที่ 15 ม.ค 2565 หากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับการซื้อกองทุน SSF / RMF ปี 2565 นี้ผู้ลงทุนต้องแจ้งความประสงค์ภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565

5. การแจ้งความประสงค์จะต้องทำทุกปีหรือไม่?
   - ไม่ต้องทำทุกปี การแจ้งความประสงค์สามารถทำเพียงครั้งเดียว และจะมีผลไปในอนาคตตลอดจนกว่าจะมีการ แจ้งเปลี่ยนแปลง

6. หากให้ความประสงค์แล้วจะยกเลิกได้หรือไม่?
   - สามารถทำได้ โดยผู้ลงทุนสามารถถอนความประสงค์ได้ภายในวันทำการสุดท้ายของรอบปีภาษี


ซื้อขายกองทุนรวมกับ บล. กรุงศรี มีค่าธรรมเนียมเรียกเก็บเพิ่มเติมหรือไม่


บล. กรุงศรี ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆเพิ่มเติมจากลูกค้า ลูกค้าจะเสียค่าธรรมเนียมตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวนของกองทุน


ขั้นต่ำในการซื้อ-ขายกองทุน จะเท่ากับซื้อขขายจากบลจ.ไหมหรือไม่


ขั้นต่ำ และ เงื่อนไขการซื้อขายกองทุน เป็นไปตามนโยบายของกองทุนนั้นๆ ขึ้นอยู่แต่ละบลจ. โดย บล. กรุงศรี ไม่ได้เก็บค่าธรรมเนียมใดๆเพิ่มเติม

วันแจ้งเปิดบัญชีครั้งแรกต้องเสียค่าธรรมเนียมการเปิดหรือมีค่าใช้จ่ายหรือไม่


เปิดบัญชีกองทุนกับ บล. กรุงศรี ไม่เสียค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชี และค่าใช้จ่ายใดๆ

ลูกค้าสามารถใช้ ATS ผูกบัญชีธนาคารได้สูงสุดกี่บัญชี


บล. กรุงศรี อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถผูกบัญชี ATS ได้สูงสุดถึง 3 บัญชี สำหรับบุคคลธรรมดา และ 5บัญชีสำหรับนิติบุคคล

ถ้าซื้อกองทุนที่มีการจ่ายเงินปันผล เวลากองทุนจ่ายเงินปันผลจะโอนเข้าไปที่ใด


เงินปันผลจะถูกนำเข้าบัญชีธนาคาร(ที่ผูกATS)ของลูกค้าที่ผูกไว้โดยอัตโนมัติ (นำเข้าบัญชีATSหลักที่ลูกค้าเลือกไว้ กรณีผูกไว้มากกว่า 1บัญชี)

การซื้อกองทุน สามารถชำระผ่านบัตรเครดิตได้หรือไม่


สามารถใช้ได้กับกองทุน SSF, RMF, ThaiESG บางกองทุน

ช่วยแนะนำบริการ DCA กองทุน


   สามารถใช้บริการผ่านหน้าเวปในเมนู Trading -> Dollar cost average
หรือผ่าน application ในเมนู ซื้อขาย -> Dollar cost average

   โดยผู้ลงทุนสามารถตั้งให้มีการซื้อแบบสม่ำเสมอทุกเดือน, ทุกสัปดาห์ หรือ กำหนดวันด้วยตนเอง และสามารถเลือกวิธีการชำระเงินได้โดยการตัด ATS หรือ ทำการเลือกสับเปลี่ยนจากกองทุนที่มีอยู่ในพอร์ต