คำถามที่พบบ่อย


ขั้นตอนการเปิดบัญชี เริ่มต้นใช้งาน การเข้าสู่ระบบ เริ่มต้นซื้อขาย การตั้งค่าต่างๆ สำหรับใช้งาน โปรแกรมซื้อขาย Mobile Trading Krungsri Securities iFUND Settrade Streaming Stock Expert eFin Trade Plus efin StockPickUp Krungsri Securities SBL Realtime การซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ วิธีปฏิบัติเมื่อโปรแกรมซื้อขายขัดข้อง การฝาก/ถอนเงิน วิธีการฝากเงิน วิธีการถอนเงิน Online Direct Debit Bill payment ผ่าน App Krungsri Bill payment ผ่านธนาคารอื่นๆ เลขบัญชีชำระค่าหุ้นและค่าธรรมเนียม แจ้งฝากหลักประกัน วิธีการสมัคร ATS ขั้นตอนการแจ้งผลการสมัคร ATS การโอนเงินระหว่างบัญชี วิธีการโอนหุ้น ค่าธรรมเนียมต่างๆ อัตราดอกเบี้ย เครดิตบาลานซ์ การขายชอร์ต เกี่ยวกับเงินปันผล ข้อมูลการซื้อ/ขาย วิธีการคำนวณต่างๆ การทบทวนข้อมูล KYC และ Suitability Test

บัญชีมาร์จิ้น(เครดิตบาลานซ์)

ซื้อหุ้นในบัญชี Credit Balance ต่างจากซื้อหุ้นบัญชีอื่นๆอย่างไร

บัญชีเครดิตบาลานซ์ หรือ บัญชีมาร์จิน คือบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่ลูกค้าสามารถซื้อหลักทรัพย์โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้นน้อยกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้ โดยลูกค้าใช้เงินตนเองส่วนหนึ่งและบริษัทจะให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าอีกส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ลูกค้าต้องฝากหรือวางเงินขั้นต้นในบัญชีก่อนเริ่มทำการซื้อหุ้น และอัตราของเงินที่วางขึ้นอยู่กับอัตรามาร์จินเริ่มต้นของ หลักทรัพย์ที่มีความประสงค์จะลงทุนนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อผ่านบัญชีเครดิตบาลานซ์ 4 กลุ่ม ดังนี้

  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 50% ได้แก่ หุ้นขนาดใหญ่ สภาพคล่องสูง
  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 60%
  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 70%
  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 80%
  • หลักทรัพย์ที่ต้องวางมาร์จิน เริ่มต้น 100% ได้แก่ หุ้นสภาพคล่องต่ำ
 

ทั้งนี้ ท่านสามารถตรวจสอบจากอัตรามาร์จินเริ่มต้นได้จาก ประกาศรายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จินเริ่มต้นสำหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชี Credit Balance (Marginable Securities List)

  • IM 50% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 50% ที่เหลืออีก 50 % กู้เงินจากบริษัท
  • IM 60% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 60% ที่เหลืออีก 40 % กู้เงินจากบริษัท
  • IM 70% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 70% ที่เหลืออีก 30 % กู้เงินจากบริษัท
  • IM 80% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 80% ที่เหลืออีก 20 % กู้เงินจากบริษัท
  • IM 100% คือ ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 100%
 

ตัวอย่าง ลูกค้าฝากเงินเข้ามาในบัญชี Credit Balance และ บัญชี Cash Balance โดยฝากเงินจำนวน 100,000 บาท เท่ากันทั้ง 2 บัญชี และต้องการซื้อหุ้น A ซึ่งมีอัตรามาร์จิน 50%

ประเภทบัญชี จำนวนเงินที่ลูกค้าฝาก อัตรามาร์จิน ราคาตลาด อำนาจซื้อ เงินส่วนของลูกค้า เงินกู้ จำนวนหุ้นที่สามารถซื้อได้
Credit Balance 100,000 50% 220 100,000/50%=200,000 100,000 100,000 900 หุ้น
Cash Balance 100,000 - 220 100,000 100,000 - 450 หุ้น

สรุป หากลูกค้าซื้อหุ้น A ซึ่งมีอัตรามาร์จิน 50% มูลค่า 200,000 ลูกค้าใช้เงินตัวเอง 50 % ที่เหลืออีก 50% กู้เงินจากบริษัท จะเห็นว่าด้วยจำนวนเงินฝากที่เท่ากันแต่เมื่อซื้อหุ้นในบัญชี Credit Balance สามารถซื้อหุ้นได้มากกว่ามูลค่าเงินที่ฝากเข้ามา

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของบัญชีเครดิตบาลานซ์หรือมาร์จิ้น มีอะไรบ้าง


การซื้อขายผ่านบัญชี Credit Balance จะมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่แตกต่างจากบัญชีเงินสด ดังนั้นขอให้ท่านนักลงทุนทำการศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้เข้าใจก่อนเริ่มทำการซื้อขายด้วยสด เช่น

  • สูตรการคำนวณอำนาจซื้อในบัญชี Credit Balance
  • การซื้อ/ขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชี Credit Balance
  • การฝาก/ถอนเงินจากบัญชี Credit Balance
  • การนำหลักทรัพย์จดทะเบียนมาวางเป็นหลักประกันหรือฝากขายในบัญชี Credit Balance
  • ดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องของบัญชี Credit Balance








       อ่านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของบัญชีเครติดบาลานซ์ทั้งหมด คลิกที่นี่

โปรแกรมส่งคำสั่งซื้อขายที่ใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขายด้วยบัญชีมาร์จิ้น?

ท่านสามารถดาวน์โหลดและใช้งานโปรแกรม eFinTrade Plus/Streaming

ในการส่งคำสั่งซื้อขาย เพื่อใช้บริการบัญชี มาร์จิ้น


ดาวน์โหลดโปรแกรม และ คู่มือการใช้งาน คลิกที่นี่
Version eFin Traade Plus Streaming
PC
Mobile Application

หมายเหตุ
ุ การ Login ผ่าน Mobile Application ต่างๆ จะต้องเลือก Broker เป็น KRUNGSRI

ส่งคำสั่งซื้อขายได้ช่วงเวลาใด


เหมือนการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นปกติ เฉพาะคำสั่ง short หุ้นที่ส่งคำสั่งได้เฉพาะเวลาตลาดเปิดทำการเท่านั้น (Open I และ II)

การส่งคำสั่งซื้อขายในบัญชีเครดิตบาลานซ์ต้องดูอะไรบ้าง

  • ตรวจสอบ IM (50% 60% 70% 80% 100%) ของหุ้นที่ต้องการลงทุน และวางหลักประกันตามสัดส่วนที่กำหนด (2)
  • ส่งคำสั่งซื้อหุ้นตามมูลค่าที่ต้องการ โดยบริษัทฯจะจัดสรรเงินกู้ให้กับลูกค้าสำหรับค่าซื้อส่วนที่เกินกว่าเงินที่วางไว้โดยอัตโนมัติ (3)

จะดูสถานะ Call / Force Margin ได้จากที่ใด


ท่านสามารถตรวจสอบสถานะ Call / Force ของบัญชีมาร์จิ้น ได้จากโปรแกรม eFin Trade Plus หน้าจอ Portfolio บริเวณ Call & Force (3)ตามภาพด้านล่างนี้